อย่างที่ทราบกันแล้วว่า โปรโมชั่นเป็นเข็มทิศชี้นำ ของสายการบินให้ลูกค้าเลือกซื้อเที่ยวบินที่ยังขาดผู้โดยสารที่เพียงพอต่อการให้บริการของเที่ยวบิน เมื่อเราเข้าใจหลักการนี้จึงสามารถนำมาเลือกกำหนดวันเดินทางได้เองโดยใช้หลักเหตุผล เพื่อให้เข้าถึงโปรโมชั่นได้ง่ายขึ้น
To see this working, head to your live site.
Search
Sep 3, 2020
· Edited: Sep 27, 2020ค้นหาโปรโมชั่น หรือบัตรโดยสารราคา ( ตั๋วเครื่องบิน) ถูก
ค้นหาโปรโมชั่น หรือบัตรโดยสารราคา ( ตั๋วเครื่องบิน) ถูก
5 comments
0
การซื้อล่วงหน้า ( Advance Purchase )
เที่ยวบินที่เพิ่งปล่อยออกขายนั้น หรือ เที่ยวที่ห่างไกลออกไปจากวันซื้อ ย่อมมีที่นั่งคงเหลืออยู่เยอะ นั่นไม่เป็นที่พึงประสงค์ของสายการบิน และเพื่อให้เที่ยวบินมีผู้เดินทาง มันจึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่ทางสายการบินจะเริ่มขายในราคาที่ต่ำกว่าเที่ยวบินที่เปิดขายไปก่อนหน้า การได้เงินมาก่อนย่อมนำมาซึ่งภาวะการเงินที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการบริการเที่ยวบินในภาวะขาดทุน การซื้อล่วงหน้านานๆ จึงมีโอกาศพบกับโปรโมชั่น เมื่อคุณนั้นคิดเห็นแบบเดียวกับกับสารการบินผู้ให้บริการ
ฤดูการ ( Season )
ในหลายๆเส้นทาง หลายๆช่วงเวลา สถิติการใช้งานคงที่แน่นอน เช่น กรกฎาคม-สิงหาคม เปิดเทอมที่อเมริกา, สิงหาคม-ตุลาคมใบไม้ผลิที่ ญี่ปุ่น-เกาหลี, ตุลาคม มีงานนิทัศการแฟร์ที่ยุโรป หรือแม้แต่ช่วงหยุดยาวสงการ์นในไทย เหตุการเหล่านี้เกิดขึ้นประจำทุกปี มีการแย่งชิงที่นั่งบนเที่ยวบินมากมายมหาศาล แน่นอนว่าการลดราคาจึงไม่จำเป็น ( High Season / Surcharge ) ในแง่กลับกันช่วงเวลาอื่นๆ จะมีผลตรงกันข้ามและนั่นเป็นเหตุผลให้ราคาบัตรโดยสารถูกลงในช่วงเวลาที่ความต้องการน้อยกว่า ( Low Season )
วัน ( Day )
พฤติกรรมปรกติของคนเรานั้นคือทำงานจันทร์ - ศุกร์ และแน่นอนว่าหากใครต้องหยุดงานเพื่อไปเที่ยว ผู้เดินทางจะหวังผลสูงสุดในการเที่ยวให้ได้ใช้เวลานานที่สุด แน่นอนการเดินทางขาไปย่อมถูกพิจารณาจากเย็นวันศุกร์ - เช้าวันเสาว์ ในแง่กลับกันเพื่อให้ได้กลับมาทำงานทันเวลาขากลับจึงมักถูกพิจารณเลือก เย็นวันอาทิตย์-เข้าวันจันทร์ เหตุนี้วันดังกล่าวจึงราคาสูง ( Weekend / Surcharge ) และอาจคลาดเคลื่อนบ้างหากมีวันหยุดยาวเข้ามาเกียวข้อง ในแง่กลับกัน อังคาร-พฤหัสบดี การถูกเลือกใช้มีน้อย ราคาจึงต่ำกว่า ( Weekday )
ช่วงเวลา ( Time )
อันนี้ก็คล้ายกับกรณีวัน แค่เจาะจงวันลงไปว่าควรเลือกช่วงเวลาไหน เช่นเย็นวันศุกร์คนใช้เยอะ เช้าวันเสา์คนใช้เยอะในขาไป ส่วนขากลับก็มักเป็นเย็นวันอาทิตย์ หรือเช้าวันจันทร์ ( Demand Time ) ดังนั้นการเลือกช่วงเวลากลางวันจึงมีโอกาศได้ราคาที่ถูกกว่า ( Day Time ) และบ่อยครั้งการโดนหักค่าแรง 1 วันอาจถูกกว่าการยอมเสียค่าบัตรโดยสารในช่วงเวลาแย่งชิงที่นั่ง น้อยคนนักจะนำปัจจัยนี้มาร่วมพิจารณากำหนดวันเดินทาง
ช่วงวัน ( Black Out / Peak / Surcharge )
ในช่วงเทศกาลประจำปี หรือวันหยุดยาวต่างๆ ความต้องการที่นั่งในปริมาณมากเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีนอกเหนือจากไม่ลดแล้วยังอาจขายในราคาสูงกว่าปรกติ ช่วงวันเหล่านี้มักซ่อนอยู่ในกำกับไว้เป็นช่วงเวลาห้ามใช้บ้าง หรือค่าธรรมเนียมวันพิเศษ ซึ่งราคาจะแพงกว่าปรกติ และยากต่อความเข้าใจของผู้ซื้อ